R410 นับว่าเป็น Server ขนาด 1U รุ่นใหม่ล่าสุดสำหรับตอนนี้ ออกมาแทน PowerEdge 1950 III ที่ไม่มีขายแล้ว สำหรับ feature ที่เด่น ๆ ของรุ่นนี้มีหลายอย่างที่เพิ่มเติมมาจาก 1950 III เช่น
- รองรับ CPU Intel ตระกูล 5500 Series สามารถใส่ CPU ได้สองตัว
- Memory แบบ DDR3 ทำให้รองรับ bandwidth ได้กว้างขึ้น และยังกินไฟน้อยกว่า DDR2 หรือ FBD
- สามารถใส่ Hard Disk ได้ถึง 4 ตัวรองรับทั้ง SATA และ SAS 3.5" หรือ 2.5" (option)
- รองรับการทำ Raid ได้หลายแบบ เช่น Raid 0,1,5,6,10

เมื่อ ถอดฝาหน้าออกมา จะเห็นว่ามี port vga และช่องเสียบ usb จำนวนสองช่อง ทำให้สะดวกในการใช้งานเมื่อต้องการต่อจอมอนิเตอร์จากทางด้านหน้าเครื่อง เช่นการติดตั้งโปรแกรมที่ต้องเปลี่ยนแผ่น CD บ่อย ๆ
ช่อง ใส่ Hard Disk จะอยู่ด้านหน้าทั้งหมด 4 ช่องสามารถถอดเปลี่ยน HDD จากทางด้านหน้าเครื่องได้เลย โดยเฉพาะ Charsis ที่เป็น Hotplug สามารถถอด HDD ได้โดยไม่ต้องปิดเครื่อง เหมาะสำหรับงานที่ต้องการความเสถียรสูง ๆ

การ ออกแบบภายในเน้นการระบายความร้อน เนื่องจาก Server 1U จะมีพื้นที่ภายในน้อยถ้าการระบายความร้อนออกแบบไว้ไม่ดี จะทำให้มีปัญหาเรื่องความร้อนสะสมภายในเครื่อง ซึ่งส่งผลต่อการทำงานของเครื่องรวมทั้งอายุการใช้งานจะสั้นลง
Dell จึงออกแบบให้มีการระบายความร้อนอย่างดีเยี่ยม พัดลมระบายความร้อนหลายตัวจะดูดลมเย็นจากหน้าเครื่อง เป่าผ่านอุปกรณ์ที่ต้องการระบายความร้อน เช่น CPU ,Memory โดยมีฉนวนครอบเอาไว้ เพื่อบังคับทิศทางลม ให้ออกทางรูระบายอากาศด้านหลัง

แม้แต่ฝาครอบด้านหน้าเครื่องเอง ก็ถูกออกแบบให้มีส่วนช่วยในการระบายความร้อนด้วย จะเห็นว่าช่องจะค่อนข้างกว้าง ทำให้ไม่ขวางทางลม

ใน รูปด้านล่างนี้คือ 1U Slid Rail เป็นอุปกรณ์สำหรับยึดเครื่องเข้ากับตู้ Rack Server ค่อนข้างใช้ยากนิดนึงสำหรับรุ่นนี้ เนื่องจากแผ่นโลหะค่อนข้างบางมาก ( แผ่นที่ประกบติดกับตัวเครื่อง ) ทำให้เวลายกเครื่องเข้าไปเสียบที่รางเลื่อนทำได้ยากกว่ารุ่นก่อน ๆ แต่เมื่อเสียบเข้าแล้วก็ใช้งานได้ดี
การติดรางเลื่อนเข้าตู้ Rack ให้ดึงรางออกมาด้านหน้านิดหน่อย แล้วเอาสลักเข้ารูของตู้ แล้วกดลงไปมันจะล็อคแน่น ลักษณะคล้าย ๆของ HP

เมื่อ เลื่อนตัวเครื่องเข้าไปสุดแล้ว ด้านขวาและซ้ายของตัวเครื่องจะเห็นมีคลิปล็อคอยู่ ให้เปิดออกมาก่อน แล้วดันเครื่องให้สุดอีกครั้ง จึงกดคลิปล็อคปิด มันจะไปล็อคตัวเครื่องให้ติดกับราง ไม่เลื่อหลุดออกมา

การติดตั้งเครื่องเข้าตู้ Rack Server สามารถทำได้โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือใด ๆ เลย

หลัง จากติดตั้งเครื่องเสร็จแล้ว ทำการติดตั้งระบบ Linux โดยลูกค้าต้องการใช้ Centos 64 bit และ Directadmin เป็น Control Panel สำหรับ Web Server
สำหรับ Spec ของเครื่องนี้คือ
- Intel(R) Quad Core E5504 Xeon(R) CPU, 2.0GHz, 4M Cache, 4.86 GT/s QPI
- C9: Add-in SAS6/iR or PERC6/i supporting 2 Hotplug HDs - RAID 1
- 2 x 160GB 7.2K RPM SATA 3.5" Hot Plug Hard Drive
- 4GB Memory (2x2GB), 1066MHz, Dual Ranked UDIMMs for 1 Processor

ลองเทียบดูกับ R300 ที่เคยทดสอบไว้
R300 /8G/1TB/Raid1
/dev/sda:
Timing cached reads: 6092 MB in 2.00 seconds = 3048.40 MB/sec
Timing buffered disk reads: 248 MB in 3.00 seconds = 82.55 MB/sec
โดย รวมแล้วถือว่าเป็นรุ่นที่น่าใช้งาน ความสามารถคุ้มค่ากับราคาที่ถือว่าไม่แพง สำหรับรุ่นนี้ราคาเริ่มต้นที่ห้าหมื่นต้น ๆ เท่านั้นครับ
เครื่องรุ่นนี้เหมาะกับงาน HPCC Software , Virtualisation ( VPS ) เช่น
- Citrix® XenServer®
- Microsoft® Windows Server® 2008, with Hyper-VTM
- VMware® vSphereTM Version 4.0 (including ESX v4.0/ ESXi v4.0) VMware® ESX v3.5 / ESXi v3.5